.
ตะกร้า [0]
วันที่สร้างเว็บ :6/11/2012
ปรับปรุงเว็บครั้งล่าสุดเมื่อ :17/6/2014
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :215540
เข้าสู่เว็บเข้าสู่เว็บwww.babytinn.com
เข้าสู่เว็บเข้าสู่เว็บwww.shopkiddee.com  โทร.087-059-2888
realkung
เสื้อผ้าเด็กนำเข้าสไตล์เกาหลี ราคาถูก
Rilakkuma Piggyshops จำหน่ายสินค้ากิ๊ฟช็อปหมีน้อย San-X Rilakkuma น่ารักๆ
เมื่อหนูโต...เต็มท้องแม่
บทความ ณ. วันที่ : 22/11/2012        จำนวนคนเข้าชมเว็บ : 310 ครั้ง   

เน้นคุณค่ามากกว่าปริมาณ
การงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำค่ะ เพราะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ สมองของลูกจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น อาหารที่แม่ได้รับต้องมีคุณภาพ ในปริมาณเหมาะสม งดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ของหมักดอง ชา กาแฟ ผงชูรส อาหารรสจัด อาหารที่ใส่สารปรุงแต่ง ฯลฯ พูดง่ายๆ ว่าให้เน้นที่คุณค่าของสารอาหารที่ควรได้รับมากกว่าปริมาณค่ะ
ควรกินอาหารในแต่ละมื้อให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ดื่มน้ำวันละ 8 แก้วเป็นอย่างน้อย ดื่มนมให้มากขึ้น เพื่อลูกจะได้มีกระดูกและฟันแข็งแรง หากแม่ได้รับแคลเซียมไม่พอ อาจทำให้เป็นตะคริวได้ง่าย

กินผักแล้วแต่ยังท้องผูกอยู่
ในไตรมาสนี้คุณแม่อาจท้องผูกได้ง่ายแม้จะรับประทานผักผลไม้เป็นประจำ ทั้งนี้เนื่องมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่ทำให้การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องผูก นอกจากนี้มดลูกที่โตขึ้นตาทการเติบโตของเจ้าตัวเล็ก ยังไปกดทับลำไส้ใหญ่ จนทำให้ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวไม่ดี จึงทำให้ท้องผูก
ยิ่งหากคุณแม่การขาดการออกกำลังกาย หรือไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย อย่างคุณแม่ที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่แทบทั้งวัน หรือคุณแม่ที่ท้องใหญ่จนเคลื่อนไหวไม่สะดวก จนพาลไม่อยากลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย ก็ยิ่งจะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลงไปอีก
ดังนั้น นอกจากรับประทานผัก ผลไม้ และดื่มน้ำให้มากขึ้นแล้ว ต้องออกกำลังกายบ้างนะคะ

เจ้าตัวเล็กกับพื้นที่ในท้องแม่
การที่ทารกในครรภ์ตัวโตขึ้นไม่ได้มีผลต่อลำไส้เพียงอย่างเดียว แต่มีผลกระทยต่อกระเพาะอาหารของคุณแม่ด้วย โดยเจ้าตัวเล็กจะมีขนาดโตขึ้นจนไปดันกระเพาะ จนคุณแม่จะรู้สึกจุกแน่นได้ นแกจากนี้ช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้กล้ามเนื้อหูรูดที่กั้นระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารคลายตัวลง จึงเกิดจากการไหลย้อนกลับของอาหารหรือกรดจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร จนทำให้ทำให้รู้สึกแสบอก
เพื่อบรรเทาอาการนี้ คุณแม่ควรกินอาหารทีละน้อย โดยกินอาหารช้าๆ และเคี้ยวให้ละเอียด หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ไม่ควรกินอาหารก่อนออกกำลังกาย ไม่ควรนอนหลังกินอาหารมาใหม่ๆ
นอกจากกระเพาะอาหารแล้ว เจ้าตัวเล็กยังโตจนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะด้วยค่ะ แหม...ก็พื้นที่ในท้องแม่มีจำกัดนี่นา แค่การที่เจ้าตัวเล็กไปเบียดกระเพาะปัสสาวะนี่ก็ทำให้คุณแม่ปวดปัศสาวะบ่อยได้แล้ว ยิ่งไปบวกกับการที่มีเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น ทำให้ไตกรองปัสสาวะออกมามากขึ้นด้วย คุณแม่จึงยิ่งปวดปัสสาวะบ่อยค่ะ
ดังนั้น หากคุณแม่เป็นคนที่เมื่อนอนหลับแล้ว ตื่นขึ้นกลางดึกไม่สามารถนอนต่อได้ง่ายๆ ล่ะก็ ก่อนนอนไม่ควรดื่มน้ำมากนะคะ
การตั้งครรภ์ในไตรมาสนี้ ดูเหมือนจะมีเรื่องทำให้คุณแม่อึดอัดทางร่างกายสักหน่อย แต่อีกไม่นานคุณแม่ก็จะได้อิ่มอกอิ่มใจกับการได้พบหน้าเจ้าตัวเล็กแล้วล่ะ

เรื่อง : นาลันทา
ภาพ : พี่ไม้
แสดงแบบโดย : คุณนภัสภรณ์ เจียมประเสริฐบุญ

อ้างอิง : http://motherandchild.in.th/content/view/1127/113/ นิตยสาร M&C แม่และเด็ก